รายงานข่าวกรองทางสังคมของผู้บริโภค 2023

บทสรุปผู้บริหาร

ประเทศไทย    |   01 Aug 2023 - 30 Sept 2023

51.5k

สนทนา

51.5k

สนทนา

การเปรียบเทียบระห

ว่างเดือนสิงหาคม – กันยายน 2023 และเดือนพฤษภาคม – มิถุนายน 2023

ข้อความสนทนาเกี่ยวกับความมั่นคงปลอดภัยในประเทศไทยมีจำนวนคงที่ในเดือนสิงหาคม-กันยายน 2023 เมื่อเทียบกับเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน โดยข้อความที่โพสต์ในเดือนพฤษภาคม-มิถุนายนมีจำนวน 51,100 ข้อความเทียบกับ 51,500 ข้อความในเดือนสิงหาคม-กันยายน โดยในเดือนสิงหาคม-กันยายน พรรคการเมืองแห่งหนึ่งได้เผยแพร่ทวีตเกี่ยวกับการหลอกลวงผ่านคอลเซ็นเตอร์และบัญชีม้า ทำให้เกิดการมีส่วนร่วมที่สำคัญ (รีทวีตมากกว่า 5,000 ครั้ง) เมื่อเทียบกับในช่วงเดือนพฤษภาคม-มิถุนายนที่มีหัวข้อหลักเป็นเรื่องมิจฉาชีพที่แอบอ้างเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียง

ข้อความสนทนาเกี่ยวกับวิธีการชำระเงินเพิ่มขึ้น 23% ในเดือนสิงหาคม-กันยายน (2,800 เทียบกับ 2,300 โพสต์) อย่างไรก็ตาม การสนทนาเกี่ยวกับกระเป๋าเงินดิจิทัลเพิ่มขึ้นเกือบ 8 เท่าเนื่องจากข่าวนโยบาย 'เงินดิจิทัล 10,000 บาทเพื่อคนไทยทุกคน' ของรัฐบาล นโยบายนี้ทำให้มีการถกเถียงเกี่ยวกับความปลอดภัยของกระเป๋าเงินดิจิทัล นอกจากนั้น ผู้บริโภคก็ได้รับการเตือนเกี่ยวกับการหลอกลงทะเบียนในแอปที่ฉ้อโกง อย่างไรก็ตาม ผู้คนยังคงพูดคุยเรื่องบัตรเครดิตมากที่สุดในข้อความสนทนาเกี่ยวกับวิธีการชำระเงิน ซึ่งโดยทั่วไปจะเน้นไปที่การฉ้อโกงที่พวกเขาเคยพบในสถานการณ์ต่างๆ เช่น การจองที่พักในต่างประเทศ

จำนวนข้อความสนทนาเกี่ยวกับประเภทการฉ้อโกงลดลง 12% เมื่อเทียบกับเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน (3,364 เทียบกับ 3,831 โพสต์) แต่ข้อความสนทนาเกี่ยวกับบัตรสูญหาย/ถูกขโมยเพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่า เหยื่อที่ถูกขโมยบัตรเครดิตขอคำแนะนำจากผู้ใช้โซเชียลมีเดียรายอื่นบน Twitter และมีการรีทวีตเกือบ 50 ครั้ง ซึ่งช่วยให้มีการสนทนามากยิ่งขึ้นการหลอกลวงจาก "แก๊งคอลเซ็นเตอร์" ยังคงเป็นหัวข้อหลักในเดือนสิงหาคม-กันยายน โดยมีข้อความที่กล่าวถึง 894 ข้อความ ซึ่งเพิ่มขึ้น 63% จากเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน โดยสาเหตุหลักมาจากการรีทวีตที่เป็นไวรัลเกี่ยวกับแม่คนหนึ่งที่ถูกหลอกลวงในออสเตรเลีย

1. การสนทนาเกี่ยวกับความปลอดภัยและความมั่นคง

เมื่อประสบเหตุหลอกลวงทางออนไลนที่กำลังระบาดในประเทศไทยผู้คนต่างแสดงความไม่พอใจของตน โดยโพสต์ Twitter ของพรรคการเมืองแห่งหนึ่งได้กล่าวถึงการหลอกลวงผ่านคอลเซ็นเตอร์และบัญชีม้า ทำให้เกิดการมีส่วนร่วมที่สำคัญ (รีทวีตมากกว่า 5,000 ครั้ง) ผู้บริโภคแสดงความไม่พอใจและรู้สึกว่าเป็นเรื่องช่วยไม่ได้โดยแชร์ประสบการณ์ส่วนตัวและมีความกังวลเกี่ยวกับมาตรการต่อต้านการหลอกลวงจากหน่วยงานกำกับดูแล การพูดคุยยังรวมถึงอุทาหรณ์เตือนใจเรื่องการฉ้อโกงเงินและการหลอกลวงผ่านคอลเซ็นเตอร์ที่กำลังระบาด

51.5k

สนทนา

ผู้คนแสดงความไม่พอใจเกี่ยวกับการหลอกลวงทางออนไลน์ที่เพิ่มขึ้น และแชร์ประสบการณ์และข้อกังวลส่วนตัว

2. วิธีการชำระเงิน

ในช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายน 2023 มีข้อความที่กล่าวถึงวิธีการชำระเงินทั้งหมดถึง 2,800 ข้อความ โดยส่วนใหญ่เป็นเรื่องบัตรเครดิต (59% ของการพูดคุยทั้งหมด) ผู้ใช้บัตรเครดิตแชร์ประสบการณ์ที่เคยถูกแฮ็กและทำธุรกรรมที่ไม่ได้รับอนุญาตการพูดคุยเกี่ยวกับกระเป๋าเงินดิจิทัลเพิ่มขึ้น คิดเป็น 16% ของการพูดคุยทั้งหมด เนื่องจากผู้คนพูดถึงนโยบาย 'เงินดิจิทัล 10,000 บาทของรัฐบาลเพื่อคนไทยทุกคน' โพสต์ที่มีแฮชแท็ก #ดิจิทัลวอลเล็ต เตือนภัยมิจฉาชีพหลอกลงทะเบียนในแอปที่ฉ้อโกงเพื่อรับเงินดิจิทัล 10,000 บาท 

2.8k

สนทนา

การพูดคุยเกี่ยวกับกระเป๋าเงินดิจิทัลเพิ่มขึ้นเนื่องจากนโยบาย "เงินดิจิทัล" ใหม่

3. ประเภทการฉ้อโกง

การขโมยข้อมูลประจำตัว/ฟิชชิ่งยังคงเป็นหัวข้อที่มีคนพูดถึงมากที่สุดในข้อความสนทนาเกี่ยวกับประเภทการฉ้อโกง (65%) – ผู้คนพูดถึงวิธีการหลอกลวงต่างๆ เช่น การแอบอ้างเป็นเจ้าของธุรกิจการหลอกลวงผ่านคอลเซ็นเตอร์ยังคงเป็นหัวข้อสำคัญ ผู้ใช้ยังได้แชร์ประสบการณ์เกี่ยวกับบัตรเครดิตสูญหายหรือถูกขโมย ซึ่งมักแสดงความไม่พอใจเมื่อได้รับความช่วยเหลือจากธนาคารไม่เพียงพอผู้คนตอบสนองต่อทวีตของพรรคการเมืองแห่งหนึ่งที่ประกาศสนับสนุนมาตรการต่อต้านการหลอกลวง พร้อมคำแนะนำสำหรับวิธีแก้ปัญหา เช่น การใช้ AI แจ้งเตือนหมายเลขโทรศัพท์ของมิจฉาชีพนอกจากนี้ ผู้ใช้ยังย้ำให้ระมัดระวังการหลอกลวงอื่นๆ เช่น การหลอกขายตั๋ว โดยมิจฉาชีพจะขอให้แฟนเพลงโอนเงินค่าตั๋วคอนเสิร์ต แต่ไม่ส่งตั๋วให้

3.4k

สนทนา

ผู้บริโภคพูดคุยเกี่ยวกับการหลอกลวงผ่านคอลเซ็นเตอร์และปัญหาบัตรเครดิตที่เข้าถึงได้ทั่วโลก ตลอดจนแชร์คำแนะนำในการป้องกันการหลอกลวง

4. การป้องกันการฉ้อโกง

ส่วนข้อความสนทนาเกี่ยวกับการป้องกันการฉ้อโกง โพสต์เรื่องความเป็นส่วนตัวของข้อมูลยังมีจำนวนใกล้เคียงกับเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน และมีคำเตือนเกี่ยวกับเว็บไซต์ปลอมที่แอบอ้างเป็นช่องทางอย่างเป็นทางการสำหรับการรายงานการหลอกลวง ในการพูดคุยเรื่องการแก้ไขปัญหาและการต่อต้านการฉ้อโกง ลูกค้าบางรายมีข้อสงสัยเกี่ยวกับประสิทธิภาพของธนาคารในกระบวนการช่วยเหลือเหยื่อจากการฉ้อโกง โดยระบุว่ามีความล่าช้าหรือไม่พร้อมให้บริการ

1.9k

สนทนา

ผู้คนพูดคุยเกี่ยวกับเว็บไซต์รายงานการฉ้อโกงปลอม

วิวัฒนาการปริมาณการสนทนาของประเทศไทย

การหลอกลวงทางออนไลน์ที่แพร่ระบาดทำให้คนไทยเรียกร้องให้มีการบังคับใช้กฎหมายที่เข้มงวดยิ่งขึ้น

แผนภูมิแสดงจำนวนข้อความสนทนารายวัน (รวมถึงการแชร์/รีทวีต) สำหรับคำค้นหา ‘การรักษาความมั่นคงปลอดภัย' ภาพนี้ใช้เพื่อระบุเรื่องราวสำคัญ (ทั้งจากข่าวหรือโซเชียลมีเดีย) ที่กระตุ้นจำนวนข้อความสนทนาและความสนใจของผู้บริโภค


คำค้นหาที่กำลังนิยม/ลดน้อยลงไปในประเทศไทย

สถิติกลโกงออนไลน์ที่น่าตกใจของประเทศไทยทำให้ผู้คนแสดงอารมณ์ พูดคุยอย่างเข้มข้น และแชร์เรื่องราวที่ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์

Fading

Trending

กลุ่มคำนี้แสดงคำและวลีที่พบบ่อยที่สุดในช่วงเวลาดังกล่าว ขนาดของคำ/วลีที่ใหญ่ขึ้นแสดงว่าพบบ่อยขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป ส่วนคำ/วลีทางซ้ายคือ "ลดน้อยลงไป" (ใช้น้อยลง) และทางขวาคือ "กำลังนิยม" (ใช้มากขึ้น)


รับข้อมูลเพิ่มเติม

รับข้อมูลเพิ่มเติม

Your message sent successfully!

Message Submitted!

We'll get back to you promptly with a response.